blogนี้เป็นเกี่ยวกับการศึกษา กรุณาแสดงความคิดโดยใช้คำสุภาพด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ทดลอง
222222222


นักเรียนอนุบาล

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

Actions : Move   ชุดคำสั่งเคลื่อนที่

  Move Fixed
ใช้กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ (object) จะมีทั้งหมด 8 ทิศ ปุ่มตรงกลางไว้สำหรับหยุดการเคลื่อนไหว และเรายังสามารถระบุความเร้วในการเคลื่อยไหวได้ด้วย
Move Free
ใช้กำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุ (object) ได้อย่างอิสระ โดยจะใช้องศา 0-360 องศา ในการกำหนด ถ้าใส่ 360 จะสุ่มองศาในการเคลื่อนไหว
Move Towards 
ใช้กำหนดการเคลื่อนไหวระบุตำแหน่ง แกน x แกน y ว่าต้องการให้ตำแหน่งนั้นๆมีความเร็วในการเคลื่อนไหวเท่าไหร่
Speed Horizontal 
กำหนดความเร็วการเคลื่อนไหวแนวนอน ตัวเลขเชิงบวกจะเคลื่อนไหวไปด้านขวา ส่วนเชิงลบจะเคลื่อนไหวไปด้านซ้าย
Speed Vertical
 กำหนดความเร็วการเคลื่อนไหวแนวตั้ง ตัวเลขเชิงบวกจะเคลื่อนไหวลงไปด้านล่าง ส่วนเชิงลบจะเคลื่อนไหวขึ้นไปด้านบน
Set Gravity 
ตั้งค่าแรงโน้มถ่วงหรือสร้างแรงโน้มถ่วงให้กับวัตถุ 
Reverse Horizontal 
ย้อนกลับ(เด้ง)การเคลื่อนไหวแนวนอน
Reverse Vertical 
ย้อนกลับ(เด้ง)การเคลื่อนไหวแนวตั้ง
Set Friction
แรงเสียดทาน
Jump to Position
ย้ายวัตถุไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ระบุตำแหน่งเป็น แกน x แกน y
Jump to Start 
ให้วัตถุย้ายหรือกลับไปยังตำแหน่งที่วัตถุนั้นถูกสร้างขึ้นมา
Jump to Random 
สุ่มวัตถุให้ไปอยู่ในตำแหน่งต่างๆ
Align to Grid
Wrap Screen 
ยกตัวอย่าง เช่น กำหนด Event ว่าเมื่อวัตถุออกจากห้องแล้วใส่ Action Wrap Screen เมื่อวัตถุเลื่อนออกจากด้านหนึ่งของห้องวัตถุก็จะไปโผล่อีกด้านหนึ่งของห้อง เราสามารถจะกำหนดได้ว่าให้เกิดการกระทำแบบนี้เฉพาะแนวตั้ง แนวนอน หรือทั้งสองทิศทาง
Move to Contact
Bounce
ไม่ว่าการเคลื่อนไหวจะเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็จะเด้งกลับหมดค่ะ
Set Path 
ให้วัตถุเดินตามเส้นทางที่สร้างไว้
End Path 
ให้วัตถุหยุดเดินตามเส้นทาง
Path Position 
เปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุในเส้นทาง
Path Speed 
เปลี่ยนความเร็วของวัตถุบนเส้นทาง ถ้าเป็นเชิงลบจะถอยหลัง ถ้าใส่ 0 จะหยุดการเคลื่อนไหวไปตามเส้นทางชั่วคราว
Step Towards 
กำหนดตำแหน่งที่ต้องการให้วัตถุเคลื่อนไปอยู่ (แกน x แกน y) และยังสามารถกำหนดความเร็วในการเคลื่อนไหวได้ด้วย
Step Avoiding 
คล้ายกับ Step Towards แต่เมื่อวัตถุเจอกับอีกวัตถุที่ถูกกำหนดให้เป็นของแข็ง วัตถุนั้นจะหลีกเลี่ยงและเคลื่อนไหวไปในทางตรงกันข้าม

เคดิตจาก : http://www.pakamasblog.com/2013/06/game-maker-actions.html#ixzz2iESfFHNf

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การใช้งาน การใช้งานโปรแกรม Internet Explorer

ใบงานการใช้งานโปรแกรม Internet Explorer 1
ใบงานการใช้งานโปรแกรม Internet Explorer 2
10 เทคนิคการใช้ Internet Explorer
คีย์ลัดในการใช้งาน Internet Explorer
พอดีว่าได้ไปเจอบทความหนึ่งน่าสนใจ เพื่อให้การใช้งาน Internet Explorer ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ได้ผลอย่างไรลองมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

1. การแสดงพื้นที่บน internet Explorer ให้มากที่สุด
ให้กด keyboard F11 เพื่อขยายเต็มหน้าจอ กดอีกครั้งจะเป็นการกลับสู่สภาพเดิม

2. ค้นหาข้อมูลใน web ที่กำลังใช้งาน
เราสามารถ search ข้อมูลใน web ที่กำลังเข้าไปดูอยู่ได้ โดยการกด keyboard Ctrl+F

3. ปุ่มใดแทนคำสั่ง back ได้
ปุ่ม Backspace ใน keyboard สามารถใช้ทดแทนคำสั่ง back เวลาเราใช้งาน Internet Explorer ได้

4. ปิด window ให้เร็วดังใจ
ใช้ปุ่ม Ctrl+W ใน keyboard เพื่อปิด window ที่กำลังใช้งานอยู่ได้

5. ดู address bar ว่าเราเข้าเว็บไหนมาบ้าง
address bar คือตำแหน่งที่ใช้ในการพิมพ์ url ของ web site ต่าง ๆ เราสามารถดูได้ว่าเคยพิมพ์อะไรไปบ้าง โดยการกดปุ่ม keyboard F4 โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดให้ทราบ

6. save URL ให้เร็วที่สุด
คุณสามารถกดปุ่ม keyboard Ctrl+D เพื่อ save ที่อยู่ใน web site ที่คุณดูอยู่ในปัจจุบันได้

7. ส่ง web ถูกใจไปให้เพื่อน
คุณทราบหรือไม่ว่า web page ต่าง ๆ ที่เราแวะเข้าไป สามารถส่งไปให้เพื่อนดูได้ เพียงแค่เลือกเมนู File เลือก Send และเลือกหัวข้อ Page by Email แค่นี้เพื่อนคุณก็จะได้รับ web ที่มีหน้าตาเหมือนกับที่คุณกำลังดูอยู่

8. เลื่อนดูหน้า web อย่างรวดเร็ว
ปกติเวลาจะดูรายละเอียดของ web page แต่ละหน้า จำเป็นต้องใช้เม้าส์คลิกลาก ขึ้น-ลง ด้านบนสุด หรือล่างสุด ทำให้ไม่สะดวกนักสำหรับผู้ไม่ถนัดในการใช้เมาส์ ลองกดปุ่ม keyboard ที่ชื่อว่า Home หรือ End ดู คงช่วยอะไรคุณได้บ้าง

9. อยาก save ภาพเป็น wallpaper
บางครั้งเราแวะไปเยี่ยมชม web site บางแห่ง แล้วถูกใจในรูปภาพนั้น ๆ และอยากจะนำกลับมาเป็น wallpaper สำหรับโปรแกรม Internet Explorer มีตัวช่วยให้คุณ เพียงแค่กด คลิกขวาที่บริเวณภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Set as wallpaper

10. เลื่อนขึ้น-ลง ทีละนิด
web page บางหน้าอาจมีความยาวมาก การจะเลื่อนหน้าทีละนิดเพื่ออ่านข้อมูล ถ้าจะใช้เมาส์ บางทีอาจไม่สะดวกนัก ลองใช้ keyboard ปุ่มที่ชื่อว่า Page Up หรือ Page Down หรือว่า แค่เคาะ Spacebar ก็สามารถเลื่อนลงมากดูรายละเอียดของ web นั้นได้สะดวก น่าจะดีกว่าเยอะเลย

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ระบบคอมพิวเตอร์ คือ ระบบที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจิรงที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์ทำการใด ๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากขึ้น เช่น จากแฟ้มทะเบียนประวัตินักเรียนทั้งห้องซึ่งมีอยู่ 35 คน ถ้าต้องการทราบว่านักเรียนกี่คนที่เป็นนักเรียนชายและเป็นนักเรียนหญิง คอมพิวเตอร์สามารถทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เฉพาะเพื่อทำงานแล้วให้คำตอบตามที่ต้องการได้
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (People)
4. ข้อมูล (Data)
5. กระบวนงาน (Procedure)

1. ฮาร์ดแวร์ คือส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนต่าง ๆ ที่มีตัวตน สามารถมองเห็นได้ จับต้องได้ เช่น ซีพียู จอภาพ เมาส์ แป้นพิมพ์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งส่วนเหล่านี้แตะละส่วนจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ
1.1 หน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)
1.3 หน่วยแสดงผลข้อมูล หรือหน่วยส่งออก

2. ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่ง (โปรแกรม) ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน จัดเป็นส่วนที่เป็นนามธรรม คือ ไม่มีตัวตน ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนที่จำเป็น ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง และอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ หมายถึง ผู้ใช้งานที่ถูกต้องจะต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น อาจจะได้รับอนุญาต หรือ ซื้อมา ซอฟต์แวร์นั้นเราแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์อื่น
2.2 ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การเรียงลำดับข้อมูลเป็นต้น
2.3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ได้แก่โปรแกรมที่ใช้ทำงานตามคำสั่ง หรือตามความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word หรือโปรแกรมคำนวณ เช่น Excel เป็นต้น
3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะแต่เดิมนั้น คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ใช้ยาก บุคลากรที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรู้ในระดับผู้ชำนาญการทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ การใช้งานคอมพิวเตอร์มีหลายระดับ ในระดับพื้นฐานนั้นการใช้งานจะง่ายมาก เพราะทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สมัยใหม่ได้รับการออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งาน เรียกว่า เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ผู้ใช้งานในระดับนี้ เมื่อได้รับการฝึกหัดเพียงเล็กน้อยก็สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักมีการต่อเชื่อมกับเครือข่าย ซึ่งส่วนนี้ยังมีความยุ่งยากพอสมควร นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่อง ไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ จึงจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญมาดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ๆ บุลากรคอมพิวเตอร์ที่สำคัญได้แก่
3.1 ผู้ดูแลระบบ (System Administrator)
3.2 นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
3.3 นักเขียนโปรแกรม (Programmer)
3.4 วิศวกรระบบ (System Engineer)
3.5 วิศวกรเครือข่าย (Network Engineer)
3.6 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูง (Super User)
3.7 ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป (User)

4. ข้อมูล คือทรัพยากรอันมีค่าขององค์กร ต้องมีการจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย และต้องมีวิธีการให้เรียกใช้ได้อย่างทันการตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดข้อมูลอย่างมีระบบ ใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management Program) ดังนั้น ในการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องศึกษาระบบงานขององค์กรเป็นอย่างดี เพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล เพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น

5. กระบวนงาน คือระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน กรณีที่มีผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ร่วมกันหลายคน การมีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดการประสารงานที่ดีขึ้น เช่น การตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล และในหน่วยงานที่มีการบริหารงานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศอย่างเป็นระบบ จะมีการจัดทำคู่มือต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบวิธีการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีการวบรวมหนังสือคู่มือเครื่อง คู่มือซอฟต์แวร์ คู่มือการใช้เครือข่าย ฯลฯ ให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา

แบบฝึกหัด
เรื่อง องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มีทั้งหมดกี่อย่างอะไรบ้าง

2. ฮาร์ดแวร์แบ่งออกเป็น 3 หน่วยอะไรบ้าง

3. ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง

5. จงบอกวิธีการซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าอย่างเป็นขึ้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสาร


จากการเรียนที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศมาแล้ว และได้รู้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ คือเทคโนโลยีที่ใช้จัดการกับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นสามารถถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ และสามารส่งไปยังที่ต่าง ๆ ได้ตามต้องการอย่างรวดเร็วทันใจ อีกทั้งผู้ต้องการใช้สารสนเทศยังสามารถสืบค้นหาข้อมูลและข่าวสารที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน นอกจากนั้นนักเรียนยังได้เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากการรวมเทคโนโลยีสองอย่างเข้าด้วยกัน อย่างแรกคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และอย่างที่สองคือเทคโนโลยีการสื่อสาร คำว่า เทคโนโลยี ในที่นี้หมายถึง ความรู้และวิธีการนำความรู้ไปใช้ สวนผลผลิตของเทคโนโลยีซึ่งทำให้เกิดการทำงานที่เราต้องการนั้น เราเรียกว่า ระบบ


(รูปภาพ)ระบบสารสนเทศประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์กับการสื่อสาร

จากรูปแสดงระบบสารสนเทศที่ประกอบด้วยฝ่ายส่งข้อมูลและฝ่ายรับข้อมูล แต่ละฝ่ายประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์กับระบบสื่อสาร และระบบสื่อสารของทั้งสองฝ่ายเชื่อมต่อถึงกันโดยสิ่งที่เรียกว่า ช่องทางการสื่อสาร (Communication Channel) ซึ่งอาจเป็นสายโทรศัพท์ ใยแก้วนำแสง หรือคลื่นวิทยุก็ได้ ในทางปฏิบัติ ระบบสารสนเทศอาจมีขนาดใหญ่กว่านี้ และอาจประกอบด้วยฝ่ายส่งและฝ่ายรับอย่างละหลายร้อยหลายพันรายก็ได้ ตามตัวอย่างสมมุติฝ่ายส่งข้อมูลต้องการส่งข้อมูลที่มีอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของฝ่ายตนไปให้แก่ฝ่ายรับ ฝ่ายส่งข้อมูลต้องจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบพร้อมส่ง และใช้โปรแกรมพิเศษ

ไปควบคุมระบบสื่อสารให้ส่งข้อมูลไปตามช่องทางการสื่อสาร ซึ่งในกรณีนี้ต่อสายตรงอยู่กับฝ่ายรับข้อมูลก็จะไปถึงฝ่ายรับข้อมูลโดยตรง ระบบสื่อสารของฝ่ายรับข้อมูล เมื่อรับข้อมูลแล้วก็จะส่งต่อให้กับระบบคอมพิวเตอร์ของฝ่ายต้นข้อมูลก็จะปรากฏที่ระบบ
คอมพิวเตอร์นั้น
กรณีของระบบใหญ่ซึ่งมีผู้ส่งและผู้รับจำนวนมากราย ต้องมีวิธีการหาเส้นทางระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้ข้อมูลไปถึงผู้รับรายที่ต้องการ อีกประการหนึ่ง ผู้ใช้แต่ละรายมักจะเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับ ยกตัวอย่างเช่น กรณีนักเรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยไปที่เว็บไซต์ของบริษัทคือ http://www.tipvarin.co.th คอมพิวเตอร์ของนักเรียนจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งก่อน คือ สั่งข้อมูลร้องขอว่าต้องการข้อมูลจากเว็บไซต์นี้ ต่อมาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนก็จะทำหน้าที่เป็นผู้รับข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์นั้น เพื่อมาแสดงที่จอภาพ เป็นต้น
แหล่งความรู้
---->>วิกิพีเดีย
---->>บูรพา อาจสุวรรณ
--->>http://www.ThaiWBI.com

แบบฝึกหัด
เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดจากเทคโนโลยี 2 อย่าง คืออะไรบ้าง
2. การสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับต้องใช้อะไรจึงจะสามารถส่งผ่านกันได้
3. จงยกตัวอย่างช่องทางการสื่อสารอย่างน้อย 3 ช่องทาง
4. จงยกตัวอย่างกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นคนเดียวกัน
5. กรณีที่ต้องการส่งผู้สั่งจะต้องเตรียมอะไรก่อนส่ง